หลวงพ่อพระมหากฤชวัฒน์ ปัญญาวุโธ อารมณ์ดี ร่วมทำกิจกรรมเตรียมงาน ประจำปี ...2567

หลวงพ่อพระมหากฤชวัฒน์ ปัญญาวุโธ อารมณ์ดี ร่วมทำกิจกรรมเตรียมงาน ประจำปี 17-4-. 2567 อย่างสะบายใจครับ

ความคิดเห็น

  1. หลวงพ่อพระมหากฤชวัฒน์ ปัญญาวุโธ อารมณ์ดี ร่วมทำกิจกรรมเตรียมงาน ประจำปี 17-4-. 2567 อย่างสะบายใจครับ

    ตอบลบ


  2. อารมณ์ดี มีสุข

    คนเรามีอารมณ์พื้นฐาน 2 ประเภท ได้แก่
    ➕1. อารมณ์หรือความรู้สึกทางบวก เป็นอารมณ์ที่ก่อให้เกิดความสุข เช่น ความสนุกสนาน ความสุข ความรัก ความสนใจ
    ➖2. อารมณ์หรือความรู้สึกทางลบ เป็นอารมณ์ที่ไม่พึงปรารถนาก่อให้เกิดความทุกข์ เป็นอารมณ์ที่ก่อให้เกิดโทษแก่ร่างกาย เช่น ความโกรธ ความกลัวความวิตกกังวล ความรู้สึกผิด ความรู้สึกอับอาย
    โดยธรรมชาติ อารมณ์ของคนเรามีการเปลี่ยนแปลงอยู่ตลอดเวลา แต่ละอารมณ์ก็มีระดับแตกต่างกันขึ้นอยู่กับสิ่งเร้าที่มากระทบ ขึ้นกับประสบการณ์การรับรู้ และกระบวนการคิดของแต่ละบุคคล

    🙄รู้จักอารมณ์ตนเอง
    ⏳ให้เวลาทบทวนอารมณ์ของตนเอง ดูว่าตนเองเป็นคนอารมณ์เช่นไร ทบทวนลักษณะการแสดงออกทางอารมณ์ และผลจากการแสดงอารมณ์นั้น ๆ ของเราว่า รู้สึกพอใจ/ไม่พอใจ คิดว่าเหมาะสม/ไม่เหมาะสม โดยต้องแน่ใจว่าไม่ได้เข้าข้างตนเอง จะได้นำไปใช้ให้เกิดประโยชน์ในครั้งต่อไป
    💡ฝึกให้รู้ตัวเสมอและมีสติอยู่กับการรู้ตัว รู้ว่าขณะนี้เรากำลังรู้สึกอย่างไรกับตัวเองหรือสิ่งที่เกิดขึ้นรอบ ๆ ตัว คิดอย่างไรกับความรู้สึกอย่างนั้นและความคิดความรู้สึกนั้นมีผลอย่างไรกับการแสดงออกของตนเอง

    😃วิธีเปลี่ยนอารมณ์ตนเอง
    1. สร้างความรู้สึกดี ที่ทำให้ไม่คิดถึงเรื่องที่ทำให้อารมณ์เสีย เช่น กินของอร่อย ฟังเพลง ดูทีวี
    2. ลดหรือเพิ่มสิ่งเร้าที่มีผลต่ออารมณ์
    3. หาการสนับสนุนทางสังคม เช่น หาเพื่อนเพื่อระบายความรู้สึก วิธีการนี้ทำให้อารมณ์ดีขึ้นแต่ไม่สามารถแก้ต้นตอของปัญหาได้
    4. จัดการกับปัญหาโดยตรง

    😡จะละวางอารมณ์โกรธของตนเองได้อย่างไร
    🤬จับสัญญาณเตือนอารมณ์โกรธที่เริ่มเกิดขึ้นให้ได้เร็วที่สุดก่อนที่ความโกรธจะระเบิดออกมา โดยสังเกตจากอาการตื่นตัวของร่างกาย เช่น หัวใจเต้นแรงขึ้น กล้ามเนื้อเริ่มเกร็ง เหงื่อไหล หน้าเริ่มร้อน ต้องสังเกตตัวเองว่าโกรธแล้วเกิดอาการทางร่างกายอย่างไร เมื่อตระหนักรู้ถึงอาการที่เกิดขึ้นแล้ว ควรจะหยุดนิ่ง เพื่อรอให้ภาวะตื่นตัวทางร่างกายลดลง ความตื่นตัวทางอารมณ์จะลดลงหากเราหยุดนิ่งสักพัก
    🔍รู้ทันสถานการณ์ที่กระตุ้นอารมณ์โกรธ เช่น บางคนรู้สึกหงุดหงิด (อาจเพิ่มระดับเป็นความโกรธ) หากการประชุมเริ่มช้า หรือต้องมานั่งรอนาน บางคนโกรธเมื่อรู้สึกว่าถูกหมิ่นเกียรติ ดังนั้นต้องหาวิธีป้องกัน หรือหลีกเลี่ยงสถานการณ์หรือสิ่งต่าง ๆ ที่อาจกระตุ้นให้เกิดอารมณ์โกรธได้
    ✔แสดงออกถึงอารมณ์โกรธอย่างถูกวิธี การจัดการกับอารมณ์โกรธ ไม่ได้หมายความว่าเราจะเกิดอารมณ์โกรธไม่ได้ หรือห้ามมีอารมณ์โกรธ แต่ต้องประเมินได้ว่าจะแสดงออกอย่างไรจึงเป็นวิธีที่ดีที่สุดในขณะนั้น
    🧘‍♂️ลดอารมณ์โกรธด้วยเทคนิคควบคุมพฤติกรรม ได้แก่ พักยกหรือหยุดชั่วคราว นับเลขถอยหลังจาก 10 ถึง 1 ขอเวลาไปห้องนํ้า ดื่มนํ้าสักแก้ว เกร็งและผ่อนคลายกล้ามเนื้อขา สูดลมหายใจลึก ๆ นึกถึงภาพในอดีตที่ทำให้รู้สึกผ่อนคลาย หรือนึกถึงประสบการณ์ในอดีตที่สร้างความพึงพอใจเพื่อทำให้หัวใจค่อย ๆ เต้นช้าลง จินตนาการว่าการแสดงความโกรธของเราจะเป็นเสมือนขนมหวานของอีกฝ่าย จะทำให้อีกฝ่ายพึงพอใจ
    💬กล้าแสดงออกถึงความรู้สึกแต่ไม่ก้าวร้าว ได้แก่ บอกไปเลยว่าการกระทำแบบใดที่ทำให้เรารู้สึกไม่สบายใจและเป้าหมายที่ชัดเจนคืออะไร บอกความรู้สึกของตนเอง (บอกว่าเรารู้สึกอย่างไร) พยายามให้อีกฝ่ายมองเห็นมุมมองของเราอย่างชัดเจน ไม่กล่าวโทษการกระทำของฝ่ายตรงข้าม แสดงความยอมรับนับถืออีกฝ่ายหนึ่ง ขออภัยกับการกระทำของเราที่เกิดจากความเข้าใจผิด
    🚫หลีกเลี่ยงความรู้สึกอคติที่เกิดขึ้น ไม่ด่วนสรุปหรือตัดสินอีกฝ่ายโดยปราศจากการไตร่ตรอง คนที่ประสานรอยร้าวจะต้องเตรียมตัวและเคลียร์ความคิดความรู้สึกของตนเองด้วย
    👨‍👩‍👦สร้างบรรยากาศแห่งความไว้วางใจ ด้วยการสร้างให้เกิดความรู้สึกที่ดีต่อกัน การให้ความยอมรับจะช่วยลดความรู้สึกสูญเสียพ่ายแพ้ของอีกฝ่ายลง
    🤣ใช้อารมณ์ขันเพื่อสร้างบรรยากาศที่อบอุ่น อารมณ์ขันทำให้คนเรามีความอดทนอดกลั้นสูงขึ้น ถ้ามีอารมณ์ขัน ความรู้สึกเกลียดชัง ไม่เป็นมิตร ก็จะไม่มีทางเกิดขึ้นแน่นอน



    ตอบลบ

แสดงความคิดเห็น