ข้ามไปที่เนื้อหาหลัก

ตลาดสด จังหวัดนครปฐม ตั้งอยู่บริเวณลุ่มแม่น้ำท่าจีน


จังหวัดนครปฐม

จากวิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี
สำหรับความหมายอื่น ดูที่ นครปฐม (แก้ความกำกวม)
จังหวัดนครปฐม
ตราประจำจังหวัดนครปฐม
ตราประจำจังหวัด

ส้มโอหวาน ข้าวสารขาว ลูกสาวงาม ข้าวหลามหวานมัน สนามจันทร์งามล้น พุทธมณฑลคู่ธานี พระปฐมเจดีย์เสียดฟ้า สวยงามตาแม่น้ำท่าจีน
ข้อมูลทั่วไป
ชื่ออักษรไทยนครปฐม
ชื่ออักษรโรมันNakhon Pathom
ผู้ว่าราชการนายชาติชาย อุทัยพันธ์
(ตั้งแต่ พ.ศ. 2557)
ISO 3166-2TH-73
สีประจำกลุ่มจังหวัดเหลือง ███
ต้นไม้ประจำจังหวัดจัน
ดอกไม้ประจำจังหวัดแก้ว
ข้อมูลสถิติ
พื้นที่2,168.327 ตร.กม.[1]
(อันดับที่ 66)
ประชากร882,184 คน[2] (พ.ศ. 2556)
(อันดับที่ 25)
ความหนาแน่น406.85 คน/ตร.กม.
(อันดับที่ 8)
ศูนย์ราชการ
ที่ตั้งศูนย์ราชการจังหวัดนครปฐม เลขที่ 99 หมู่ที่ 6 ถนนบางเตย-ดอนยายหอม ตำบลถนนขาด อำเภอเมืองนครปฐม จังหวัดนครปฐม 73000
โทรศัพท์(+66) 0 3434 0003-4
โทรสาร(+66) 0 3434 0003-4
เว็บไซต์จังหวัดนครปฐม
แผนที่
 
แผนที่ประเทศไทย เน้นจังหวัดนครปฐม

สารานุกรมประเทศไทย ส่วนหนึ่งของสารานุกรมประเทศไทย
นครปฐม เป็นจังหวัดในภาคกลาง (หน่วยงานบางแห่งจัดไว้เป็นภาคตะวันตก) เป็นพื้นที่เขตปริมณฑลของกรุงเทพมหานคร มีประวัติศาสตร์เก่าแก่ยาวนาน เชื่อว่าเป็นที่ตั้งเก่าแก่ของเมืองในสมัยทวารวดี โดยมีหลักฐานทางประวัติศาสตร์และโบราณคดีเป็นจำนวนมาก
จังหวัดนครปฐม ตั้งอยู่บริเวณลุ่มแม่น้ำท่าจีนซึ่งเป็นพื้นที่บริเวณที่ราบลุ่มภาคกลาง โดยอยู่ระหว่างเส้นละติจูดที่ 13 องศา 45 ลิปดา 10 พิลิปดา เส้นลองจิจูดที่ 100 องศา 4 ลิปดา 28 พิลิปดา มีพื้นที่ 2,168.327 ตารางกิโลเมตร หรือ 1,355,204 ไร่ เท่ากับ ร้อยละ 0.42 ของประเทศ และมีพื้นที่เป็นอันดับที่ 62 ของประเทศ อยู่ห่างจากกรุงเทพมหานครไปตามเส้นทางถนนเพชรเกษม 56 กิโลเมตร หรือตามเส้นทางถนนบรมราชชนนี (ปิ่นเกล้า-นครชัยศรี) 51 กิโลเมตร และตามเส้นทางรถไฟ 62 กิโลเมตร

สัญลักษณ์ประจำจังหวัด[แก้]

  • ดอกไม้ประจำจังหวัด: แก้ว
  • ต้นไม้ประจำจังหวัด: จัน (Diospyros decandra Lour.)
  • คำขวัญประจำจังหวัด: ส้มโอหวาน ข้าวสารขาว ลูกสาวงาม ข้าวหลามหวานมัน สนามจันทร์งามล้น พุทธมณฑลคู่ธานี พระปฐมเจดีย์เสียดฟ้า สวยงามตาแม่น้ำท่าจีน
  • อักษรย่อจังหวัด: นฐ

ประวัติ[แก้]

นครปฐม เป็นอู่อารยธรรมสำคัญที่มีประวัติความเป็นมายาวนานในแผ่นดินสุวรรณภูมิ จากหลักฐานทางประวัติศาสตร์กล่าวว่า เมืองนครปฐมแต่เดิมนั้นตั้งอยู่ริมทะเล เป็นเมืองเก่าแก่ มีความเจริญรุ่งเรืองมานับตั้งแต่สมัยสุวรรณภูมิ และเป็นราชธานีสำคัญในสมัยทวารวดี ในยุคนั้น นครปฐมเป็นแหล่งเผยแพร่อารยธรรมจากประเทศอินเดีย ซึ่งรวมทั้งพุทธศาสนา นครปฐมจึงเป็นศูนย์กลางของความเจริญ มีชนชาติต่าง ๆ อพยพเข้ามาตั้งถิ่นฐานอยู่เป็นจำนวนมาก ต่อมาได้เกิดความแห้งแล้งขึ้นในเมืองนครปฐม เพราะกระแสน้ำที่ไหลผ่านตัวเมืองเปลี่ยนเส้นทาง ประชาชนจึงอพยพไปตั้งหลักแหล่งอยู่ริมน้ำ และสร้างเมืองใหม่ขึ้นชื่อ “เมืองนครไชยศรี” หรือ “ศรีวิชัย” นครปฐมจึงกลายเป็นเมืองร้างมาเป็นเวลาหลายร้อยปี จนกระทั่งพระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว ขณะที่ทรงยังผนวชได้ธุดงค์ไปพบพระปฐมเจดีย์ และทรงเห็นว่าเป็นเจดีย์องค์ใหญ่ไม่มีที่ใดเทียบเท่า ครั้นเมื่อได้ครองราชย์ จึงโปรดฯ ให้ก่อเจดีย์แบบลังกาครอบองค์เดิมไว้ โดยให้ชื่อว่า “พระปฐมเจดีย์” ทรงปฏิสังขรณ์สิ่งต่าง ๆ ในบริเวณองค์พระปฐมเจดีย์ให้มีสภาพดี และโปรดฯ ให้ขุดคลองเจดีย์บูชาเพื่อให้การเสด็จมานมัสการสะดวกขึ้น[3]
ต่อมาในสมัยพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว ได้เริ่มก่อสร้างทางรถไฟสายใต้ผ่านเมือง นครปฐม ซึ่งขณะนั้นยังเป็นป่ารก พระองค์จึงโปรดฯ ให้ย้ายเมืองจากตำบลท่านา อำเภอนครชัยศรี มาตั้งที่บริเวณองค์พระปฐมเจดีย์เหมือนเช่นครั้งสมัยโบราณครั้งในรัชสมัยพระบาทสมเด็จพระมงกุฎเกล้าเจ้าอยู่หัว โปรดฯ ให้สร้างพระราชวังสนามจันทร์ เป็นที่เสด็จแปรพระราชฐานและฝึกซ้อมรบแบบเสือป่า โดยโปรดฯ ให้ตัดถนนเพิ่มขึ้นอีกหลายสาย รวมทั้ง สร้างสะพานเจริญศรัทธาข้ามคลองเจดีย์บูชาเชื่อมระหว่างสถานีรถไฟกับองค์พระปฐมเจดีย์ ตลอดจนสร้าง พระร่วงโรจนฤทธิ์ทางด้านทิศเหนือขององค์พระปฐมเจดีย์และบูรณะองค์พระปฐมเจดีย์ให้สมบูรณ์สวยงามดังที่เห็นอยู่ในปัจจุบัน และได้โปรดให้เปลี่ยนชื่อจากเมือง “นครไชยศรี” เป็น “นครปฐม"

หน่วยการปกครอง[แก้]

การปกครองส่วนภูมิภาค[แก้]

การปกครองส่วนภูมิภาค แบ่งออกเป็น 7 อำเภอ ประกอบด้วย 106 ตำบล และ 930 หมู่บ้าน
  1. อำเภอเมืองนครปฐม
  2. อำเภอกำแพงแสน
  3. อำเภอนครชัยศรี
  4. อำเภอดอนตูม
  5. อำเภอบางเลน
  6. อำเภอสามพราน
  7. อำเภอพุทธมณฑล
 แผนที่

การปกครองส่วนท้องถิ่น[แก้]

พื้นที่จังหวัดนครปฐมประกอบด้วยองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น 117 แห่ง แบ่งตามประเภทและอำนาจบริหารจัดการภายในท้องที่ได้เป็น องค์การบริหารส่วนจังหวัด 1 แห่ง เทศบาลนคร 1 แห่งเทศบาลเมือง 4 แห่ง เทศบาลตำบล 18 แห่ง และองค์การบริหารส่วนตำบล 93 แห่ง [4]
เขตเทศบาลในจังหวัดนครปฐม
ข้อมูลเทศบาลในจังหวัดนครปฐม
ลำดับชื่อเทศบาลพื้นที่
(ตร.กม.)
ตั้งเมื่อ
(พ.ศ.)[# 1]
อำเภอครอบคลุมตำบลประชากร (คน)
(ณ สิ้นปี 2555) [5]
ทั้งตำบลบางส่วนรวม
เทศบาลนคร
1
19.85
2542เมืองฯ189
79,148
เทศบาลเมือง
2 (1)
8.15
2551[6]สามพราน-44
16,820
3 (2)
25.4
2551[7]สามพราน1-1
26,392
4 (3)
10.9
2551[8]สามพราน1-1
22,701
5 (4)
22.20
2556[9]เมืองฯ-11
12,107
เทศบาลตำบล
6 (1)
2538นครชัยศรี1-1
7,081[5]
7 (2)
2542เมืองฯ-11
6,574
8 (3)
2542เมืองฯ-11
7,300
9 (4)
2542เมืองฯ-11
10,521
10 (5)
2542กำแพงแสน-22
6,936
11 (6)
2542นครชัยศรี-55
8,169
12 (7)
2542นครชัยศรี-11
2,066
13 (8)
2542ดอนตูม2-2
13,565
14 (9)
2542บางเลน-22
7,999
15 (10)
2542บางเลน-11
2,322
16 (11)
2542บางเลน-11
2,303
17 (12)
2542บางเลน-11
1,977
18 (13)
12
2542สามพราน112
23,527
19 (14)
13.50
2542พุทธมณฑล-11
11,567
20 (15)
31.68
2550พุทธมณฑล1-1
8,628
21 (16)
12.85
2551สามพราน1-1
10,861
22 (17)
2555เมืองฯ1-1
23 (18)
2555เมืองฯ-11
  1. กระโดดขึ้น หมายถึงปีที่ได้รับการยกฐานะเป็นเทศบาลในระดับปัจจุบัน

ประชากร[แก้]

สถิติประชากรตามทะเบียนราษฎร
จังหวัดนครปฐม[10]
ปี (พ.ศ.)ประชากร
2549820,704
2550830,970
2551843,599
2552851,426
2553860,246
2554866,064
2555874,616

สถานที่ท่องเที่ยว[แก้]

ภาพซากพระราชวังปฐมนครในรัชกาลที่4

พุทธมณฑล[แก้]

สถานศึกษา[แก้]

ระดับอุดมศึกษา[แก้]

ระดับอาชีวศึกษา[แก้]

  • วิทยาลัยอาชีวศึกษานครปฐม
  • วิทยาลัยอาชีวศึกษาเทศบาลนครปฐม
  • วิทยาลัยเทคนิคนครปฐม
  • วิทยาลัยสารพัดช่างคนรปฐม
  • วิทยาลัยการอาชีพนครปฐม
  • วิทยาลัยการอาชีพบางแก้วฟ้า
  • การอาชีพพุทธมณฑล
  • กาญจนาภิเษกวิทยาลัย ช่างทองหลวง สังกัด อาชีวศึกษามหานคร
  • วิทยาลัยเทคโนโลยีนครปฐม

โรงเรียน[แก้]

ชาวนครปฐมที่มีชื่อเสียง[แก้]

อ้างอิง[แก้]

  1. กระโดดขึ้น ศูนย์สารสนเทศเพื่อการบริหารและงานปกครอง. กรมการปกครอง. กระทรวงมหาดไทย. "ข้อมูลการปกครอง." [ออนไลน์]. เข้าถึงได้จาก:http://www.dopa.go.th/padmic/jungwad76/jungwad76.htm [ม.ป.ป.]. สืบค้น 18 เมษายน 2553.
  2. กระโดดขึ้น ประกาศสำนักทะเบียนกลาง กรมการปกครอง เรื่อง จานวนราษฎรทั่วราชอาณาจักร แยกเป็นกรุงเทพมหานครและจังหวัดต่าง ๆ ตามหลักฐานการทะเบียนราษฎร ณ วันที่ 31 ธันวาคม 2556
  3. กระโดดขึ้น [1]
  4. กระโดดขึ้น กรมส่งเสริมการปกครองท้องถิ่น. กระทรวงมหาดไทย. "สรุปข้อมูล อปท ทั่วประเทศ." [ออนไลน์]. เข้าถึงได้จาก: http://www.dla.go.th/work/abt/index.jsp 2556. สืบค้น 20 กันยายน 2556.
  5.  กระโดดขึ้นไป:5.0 5.1 สำนักบริหารการทะเบียน. กรมการปกครอง. กระทรวงมหาดไทย. "รายงานสถิติจำนวนประชากร และบ้าน ทั่วประเทศ และรายจังหวัด ณ เดือน ธันวาคม พ.ศ. 2555." [ออนไลน์]. เข้าถึงได้จาก:http://stat.dopa.go.th/xstat/pop55_1.html 2556. สืบค้น 1 เมษายน 2556.
  6. กระโดดขึ้น สำนักงานเทศบาลเมืองสามพราน. "ข้อมูลทั่วไป: สภาพทั่วไปและข้อมูลพื้นฐานสำคัญ." [ออนไลน์]. เข้าถึงได้จาก: http://www.samphrancity.go.th/index.php?options=content&mode=cate&id=1[ม.ป.ป.]. สืบค้น 23 ธันวาคม 2555.
  7. กระโดดขึ้น  กระทรวงมหาดไทย. ประกาศกระทรวงมหาดไทย เรื่อง จัดตั้งองค์การบริหารส่วนตำบลไร่ขิง อำเภอสามพราน จังหวัดนครปฐม เป็นเทศบาลเมืองไร่ขิง.
  8. กระโดดขึ้น สำนักงานเทศบาลเมืองกระทุ่มล้ม. "ข้อมูลสภาพทั่วไป." [ออนไลน์]. เข้าถึงได้จาก: http://www.krathumlom.com/basic/general.php [ม.ป.ป.]. สืบค้น 19 กุมภาพันธ์ 2556.
  9. กระโดดขึ้น กระทรวงมหาดไทย. ประกาศกระทรวงมหาดไทย เรื่อง จัดตั้งองค์การบริหารส่วนตำบลนครปฐม อำเภอเมืองนครปฐม จังหวัดนครปฐม เป็นเทศบาลเมืองนครปฐม.
  10. กระโดดขึ้น สำนักบริหารการทะเบียน. กรมการปกครอง. กระทรวงมหาดไทย. "จำนวนประชากรและบ้าน." [ออนไลน์]. เข้าถึงได้จาก: http://stat.dopa.go.th/xstat/popyear.html 2555. สืบค้น 3 เมษายน 2556.

ดูเพิ่ม[แก้]

แหล่งข้อมูลอื่น[แก้]


รายการเลือกการนำทาง

ความคิดเห็น